วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ห้องสมุดสุดชิค 'C.A.M.P AIS' รวมทุกสิ่ง! เพื่อดิจิตอลไลฟ์สไตล์



              เอไอเอส จับมือห้างเมญ่า เชียงใหม่ เปิดตัวคาเฟ่ห้องสมุด 24 ชั่วโมง รวมหนังสือ คอนเทนต์ดิจิตอล รวมทั้งไวไฟ และออฟฟิศ เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้พบปะ สร้างสังคมใหม่…เมื่ออินเทอร์เน็ตทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ล่าสุด เอไอเอส ก็ได้ตอบรับกระแสดังกล่าว แต่ขยายมาสู่ดิจิตอลไลฟ์จังหวัดเชียงใหม่ โดยร่วมกับห้างสรรพสินค้าเมญ่า เชียงใหม่ เปิดตัว C.A.M.P AIS : Library Cafe 24ชั่วโมง จัดเต็มเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดคอมมูนิตี้ ได้เกิดการเชื่อมโยง ค้นหา เข้าถึง และแบ่งปันได้เพียงปลายนิ้ว ผ่านสุดยอดเครือข่ายจาก AIS Gigabit Broadband Internet ความเร็ว 1Gbps มาตรฐานความเร็วระดับโลก และ AIS Ultimate Wifi 300 Mbps ที่เร็วสุดในประเทศไทย รวมถึงการเป็นห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) คลังหนังสือดิจิตอลที่เปิดให้สามารถเลือกยืม e-book , e-magazine ได้ง่ายๆ รวมถึงกิจกรรมจุดประกายความคิดสร้างสรรค์จากสไตล์ไอคอนทุกเดือนตลอดปี
แหล่งความรู้ใหม่ ของชาวเหนือ
           นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอสไม่เพียงแต่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสาร แต่ยังเน้นการสนับสนุนให้คนไทยทุกคนสามารถสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ สู่นวัตกรรมที่จะช่วยให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างแข็งแรง ล่าสุด เราจึงนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและสร้างโอกาสในการค้นหาแรงบันดาลใจแก่ชุมชนคนรุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        จากไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตแบบอิสระ ไม่ยึดติดกรอบ ทั้งเรื่องเวลาและสถานที่ ทั้งยังมีความกระตือรือร้นที่จะแสดงตัวตนผ่านความคิดสร้างสรรค์ จากโลกโซเชียล โลกออนไลน์ รวมถึงนิยมความคิดใหม่แบบไร้ขีดจำกัด เช่น ความนิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น โดยปัจจุบันพบว่ามากกว่า 13 ชั่วโมงต่อวัน หรือเลือกใช้ชีวิตในระหว่างวัน ณ สถานที่อย่าง Third Place ซึ่งมีความสำคัญรองจากบ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา เพราะเป็นแหล่งดึงดูดให้คนมารวมตัวกัน และเกิดการปฏิสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ขึ้นในสังคม
สวยงาม บรรยากาศน่านั่ง
         ดังนั้น C.A.M.P AIS จะกลายเป็น Library Café 24 ชั่วโมง แห่งแรกของประเทศไทย ที่จะเป็นแหล่งรวมพลคนชอบคิด เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ พร้อมบริการสังคมด้วยแนวคิด Open Office , ห้องสมุด และ Café ที่เปิด 24 ชั่วโมง พร้อมให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอล และดิจิตอล คอนเทนต์ อาทิ Digital Meeting Room ที่มี AIS Gigabit Broadband Internet ความเร็วสูง 1Gbps พร้อม Smart Screen , AIS Ultimate Hi-Speed Wifi เร็วที่สุดในประเทศไทย ถึง 300 Mbps , AIS Digital Library มากกว่าพันเล่ม , AIS Digital Money ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมสิทธิพิเศษอีกมากมาย

       ด้านนายสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์มากกว่า 30 ปี ทำให้ได้สัมผัสมุมมองและไลฟ์สไตล์ของคนไทยรุ่นใหม่ ว่ามีความคิดสร้างสรรค์ในหลายมุมมอง เมื่อมีโอกาสพัฒนาศูนย์การค้าเมญ่าแห่งนี้ จึงเกิดความคิดว่าน่าจะมีสถานที่ให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนแนวคิด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนเป็นสถานที่ที่ให้เยาวชนสามารถอ่านหนังสือได้อย่างอิสระ ปลอดภัย และค่าใช้จ่ายไม่แพง รวมทั้งมีอาหารเครื่องดื่มให้บริการแก่ผู้มาใช้บริการตลอด 24 ชม.
อี ไลบราลี่ ก็มีให้ใช้
ลงทุน 30 ล้านบาท!
C.A.M.P AIS เป็นแหล่งช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ครบวงจรและโดดเด่น ในย่านถนนนิมมานเหมินทร์ สี่แยกรินคำ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ลงทุนด้วยงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท พื้นที่ 737 ตารางเมตร 290 ที่นั่ง ทั้งด้านในร้านและระเบียงด้านนอกวิวดอยสุเทพ

10 โซน สุดฮิป!
สำหรับ C.A.M.P AIS แบ่งออกเป็น 10 โซน ได้แก่…
1. Tree House Zone ซุ้มอ่านหนังสือสูงสามชั้น ประดับด้วยธงแบ่งหมู่เหล่า ให้บรรยากาศย้อนวัยวันเข้าค่าย
2. Reading Hill ที่นั่งอัฒจันทร์แบบนาขั้นบันไดพร้อมเบาะหลากสีตัดกับพื้นผิวไม้โอ๊ค อบอุ่น ผ่อนคลาย แต่ไม่ลืมความสนุกสนาน
3. Tipi Chair กระโจมอินเดียนแดง แปลงเป็นเก้าอี้
4. Timber ความทรงจำจากกิจกรรมรอบกองไฟ พบปะพูดคุยกัน มานั่งที่ขอนไม้ยักษ์ได้เป็นกลุ่มใหญ่ ทำกิจกรรมด้วยกันได้เต็มที่
5. Mountain Ceiling โมดูลาเส้นสายรูปร่างสามเหลี่ยมที่เราใช้แทนภูเขา วางสลับต่อเนื่องกันในความหมายใหม่ ให้โทนทันสมัยในพื้นที่สนุก ๆ 
6. Stone Table โต๊ะหินติดล้อ วัสดุเหมือนหินจริงๆ ลากมากองรวมกันได้เหมือนไปค้างแรมในป่า
7. Terrain Zone 
8. Strait Zone 
9. Meet The Sun 
10. Meet &Read

บริการ… C.A.M.P AIS
ประกอบด้วย ห้องสมุดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ , ห้องประชุมกลุ่ม , อาหารและเครื่องดื่ม , ฟรี Wi-Fi , ปลั๊กไฟทั่วพื้นที่ , เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง
สถานที่ระดมสมอง และพบปะของคนรุ่นใหม่

อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/  วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557


วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

7 อันดับ ห้องสมุดที่อลังการและสวยงามที่สุดในโลก น่าไปใช้บริการอย่างมาก

        
ห้องสมุดถือเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นดีสำหรับนักค้นคว้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป ต่างใช้ห้องสมุดเพื่อหาข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเปิดโลกใหม่ๆให้กับผู้อ่านอีกด้วย

best-library
วันนี้เหมียวจะพาไปชม 7 อันดับห้องสมุดที่สวยที่สุดในโลกกัน มาดูกันว่าจะน่าไปนั่งอ่านหนังสือขนาดไหน

อันดับ 7 Bishan Public Library ประเทศสิงคโปร์
best-library2

best-library3
ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 4,000 ตารางเมตร ออกแบบคล้ายบ้านที่ประกอบด้วยห้องต่างๆที่จัดสรรค์อย่างดี ตัวอาคารเป็นกระจกใสทั้งหมด

อันดับ 6 Stuttgart City Library, Stuttgar ประเทศเยอรมนี
best-library4

best-library5

best-library6
ห้องสมุดทรงลูกบาสก์สี่เหลี่ยม ดูภายนอกอาจไม่มีอะไร แต่ภายในสวยงามมาก หลังคาเป็นกระจกโปร่งใสเพิ่งความสว่าง บรรยากาศเหมือนกับอยู่ในห้างที่เต็มไปด้วยหนังสือเลยทีเดียว

อันดับ 5 Bibliotheca Alexandrina, Alexandria ประเทศอียิปต์
best-library7

best-library8
หอสมุดแห่งนี้มีอายุกว่า 2,300 ปี ใช้เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์กรีกและอียิปต์ แล้วถูกบูรณะใหม่เมื่อปี 2002 จนได้รับรางวัลด้านออกแบบมากมาย

อันดับ 4 TU Delft Library ประเทศเนเธอร์แลนด์
best-library9

best-library10
เป็นห้องสมุดที่กลมกลืนกับธรรมชาติมากๆ เพราะหลังคาสามารถปลูกหญ้าได้ แถมกว่า 3 ไร่ครึ่งเลยทีเดียว อ่านไปนั่งชิวไป สบายเลยทีนี้

อันดับ 3 Geisel Library, University of California ประเทศสหรัฐอเมริกา
best-library11

best-library12
หอสมุดแห่งนี้ตั้งชื่อตามนิยาย Theodor Geisel ออกแบบให้ทันสมัย มีรูปร่างคล้ายต้นไม้หรือยานอวกาศ แถมยังเป็นสถานที่ใช้ถ่ายหนัง Inception อีกด้วยนะ

อันดับ 2 Trinity College Library ประเทศไอร์แลนด์
best-library13

best-library14
สร้างในสมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 โดยใช้ไม้โอ๊คทั้งหลัง ตกแต่งให้ดูสวยหรูและอลังการ ไม่น่าเชื่อว่าห้องสมุดแห้งนี้ มีหนังสือกว่า 200,000 เล่ม

อันดับ 1 Central Library, Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา
best-library15

best-library16

best-library17
อยู่ใจกลางเมือง Seattle สูงถึง 11 ชั้น แถมยังรูปทรงสุดจะโมเดิร์นด้วยโครงสร้างเหล็กและกระจก อีกทั้งยังมีหนังสือกว่า 1.45 ล้านเล่ม ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก

อ้างอิง : http://www.catdumb.com วันที่ 14/10/2557

หนังสือที่แพงที่สุดในโลก 453 ล้านบาท

             Bay Psalm Book ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี 1640 หรือ 374 ปีก่อน โดยกลุ่มพิวริตันซึ่งอพยพมาอาศัยอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ขึ้นแท่นหนังสือตีพิมพ์ที่ราคาแพงที่สุดในโลก หลังมีมหาเศรษฐีทุ่มเงินประมูลไปถึง 12.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 400 ล้านบาท) ผ่านเวทีประมูลที่นครนิวยอร์ก
             หนังสือ The Bay Psalm Book มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแปลบท Psalms ในพระคัมภีร์ไบเบิล

       สถาบันประมูลโซธบีส์ (Sotheby’s) ตั้งราคาเริ่มต้นไว้ที่ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภายในเวลาไม่ถึง 5 นาทีก็มีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 12.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทว่าเมื่อรวมค่าธรรมเนียมพิเศษแล้ววงเงินจะเพิ่มเป็น 14.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 453 ล้านบาท)

        พิวริตันเป็นกลุ่มคริสตศาสนิกชนเคร่งครัดจากยุโรปที่เดินทางมายังทวีปอเมริกาเพื่อแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนา และมีการแปลพระคัมภีร์เก่าจากภาษาฮิบรูโดยอาศัยการตีความในแบบของพวกเขาเอง
       ผู้ที่คว้าหนังสือเก่าแก่เล่มนี้ไปครอง คือ เดวิด รูเบนสไตน์ มหาเศรษฐีพันล้านชาวอเมริกันผู้ใจบุญ ซึ่งกดโทรศัพท์เข้ามาร่วมประมูลจากออสเตรเลีย

       โซธบีส์ประเมินว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะทำราคาขายได้ระหว่าง 15-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ไม่แสดงความผิดหวังกับราคาประมูลสูงสุดที่ได้มาเพียง 14.165 ล้านดอลลาร์

       เดวิด เรดเดน หัวหน้าฝ่ายจัดการประมูลหนังสือของโซธบีส์ ระบุว่า ตัวเลข 14.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “ถือเป็นสถิติสูงสุดของโลกในหมวดหนังสือตีพิมพ์”

      หนังสือที่เคยครองสถิติแพงที่สุดในโลกคือ “Birds of America” โดย จอห์น เจมส์ โอดูบอง ซึ่งทำราคาได้สูงถึง 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อโซธบีส์นำออกประมูลในเดือนธันวาคม ปี 2010

             หนังสือ The Bay Psalm Book มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแปลบท Psalms ในพระคัมภีร์ไบเบิล 
       สถาบันประมูลโซธบีส์ (Sotheby’s) ตั้งราคาเริ่มต้นไว้ที่ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภายในเวลาไม่ถึง 5 นาทีก็มีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 12.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทว่าเมื่อรวมค่าธรรมเนียมพิเศษแล้ววงเงินจะเพิ่มเป็น 14.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 453 ล้านบาท)
        พิวริตันเป็นกลุ่มคริสตศาสนิกชนเคร่งครัดจากยุโรปที่เดินทางมายังทวีปอเมริกาเพื่อแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนา และมีการแปลพระคัมภีร์เก่าจากภาษาฮิบรูโดยอาศัยการตีความในแบบของพวกเขาเอง
       ผู้ที่คว้าหนังสือเก่าแก่เล่มนี้ไปครอง คือ เดวิด รูเบนสไตน์ มหาเศรษฐีพันล้านชาวอเมริกันผู้ใจบุญ ซึ่งกดโทรศัพท์เข้ามาร่วมประมูลจากออสเตรเลีย
       โซธบีส์ประเมินว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะทำราคาขายได้ระหว่าง 15-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ไม่แสดงความผิดหวังกับราคาประมูลสูงสุดที่ได้มาเพียง 14.165 ล้านดอลลาร์
       เดวิด เรดเดน หัวหน้าฝ่ายจัดการประมูลหนังสือของโซธบีส์ ระบุว่า ตัวเลข 14.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “ถือเป็นสถิติสูงสุดของโลกในหมวดหนังสือตีพิมพ์”
      หนังสือที่เคยครองสถิติแพงที่สุดในโลกคือ “Birds of America” โดย จอห์น เจมส์ โอดูบอง ซึ่งทำราคาได้สูงถึง 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อโซธบีส์นำออกประมูลในเดือนธันวาคม ปี 2010
















อ้างอิง : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

10 ห้องสมุดในกรุงเทพ ที่น่าเข้าใช้สุดๆ

วันนี้มีเพื่อนคนนึงส่งบทความนี้มาให้ (บทความในนิตยสารแจกฟรี BK)
บทความนี้พูดถึงเรื่องห้องสมุดในกรุงเทพได้น่าสนใจมาก
ในฐานะนายห้องสมุด ก็ต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย


Bangkok library
     

  บทความนี้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “10 libraries to seek peace and quiet in Bangkok”หรือแปลเป็นภาษาไทย คือ 10 ห้องสมุดที่แสนสงบและเงียบในกรุงเทพฯตอนแรกที่อ่านชื่อบทความ แบบว่าอึ้งมากๆ และยิ่งเปิดไปดูเนื้อหาของ 10 ห้องสมุด


        ผมเองก็แปลกใจเพราะห้องสมุดที่ถูกกล่าวถึง บางแห่งก็ไม่ได้เงียบสงบจริงๆห้องสมุดหลายแห่งสามารถใช้เสียงได้ ห้องสมุดหลายแห่งไม่เหมือนชื่อที่ตั้งไว้


เอาเป็นว่าเราไปดูกันครับว่า 10 แห่ง เขาพูดถึงที่ไหนบ้าง
1. ห้องสมุดเนลสันเฮย์ (Neilson Hays Library)
2. หอสมุด ปรีดี พนมยงค์ (Pridi Banomyong Library)
3. The Reading Room
4. ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี
5. ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร
6. หอสมุดแห่งชาติ
7. ห้องสมุดสยามสมาคม
8. อุทยานการเรียนรู้ (TK Park)
9. ห้องสมุดมารวย
10. ห้องสมุดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)




อ้างอิง: http://www.libraryhub.in.th/2014/04/09 วันที่ 14 ตุลาคม 2557

ตุ๊กตาจะมาส่งเสริมการอ่านได้อย่างไร ตามไปอ่านกันเลยค่า !

 จะ.. จะ.. จะเกิดอะไรขึ้นหากเหล่าตุ๊กตาของเด็กๆ มาค้างแรมที่ห้องสมุดในกลางดึกที่ไร้ผู้คน!?




      วันนี้ AME.dama ขอนำเสนอไอเดียเด็ดที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ หันมาสนใจอ่านหนังสือ เข้าห้องสมุดกันมากขึ้น ด้วยโปรเจค “Stuffed Animals Sleep Over” ซึ่งเริ่มต้นในอเมริกาและในปัจจุบันกำลังแพร่หลายไปยังห้องสมุดทั่วประเทศของญี่ปุ่นในชื่อว่า ぬいぐるみの図書館おとまり会 ที่แปลได้ว่า “งานค้างแรมห้องสมุดของเหล่าตุ๊กตา” 

ตุ๊กตาจะมาส่งเสริมการอ่านได้อย่างไร ตามไปอ่านกันเลยค่า!

รูปแบบของโปรเจคนี้ก็คือ...


ทางห้องสมุดรับฝากตุ๊กตาของเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการ



เจ้าหน้าที่ห้องสมุดถ่ายรูปเรื่องราวการผจญภัยของเหล่าตุ๊กตาในอิริยาบถต่างๆ เริ่มจาก....

เหล่าตุ๊กตาที่หลับใหลอยู่ในห้องสมุด...


ลืมตาตื่น ลุกจากที่นอน เตรียมออกผจญภัยในห้องสมุด


ร่วมแรงร่วมใจกันค้นหาหนังสือที่น่าอ่านในห้องสมุด


เพราะภารกิจในคืนนี้คือ “การหาหนังสือที่น่าสนใจไปให้เจ้านายของตัวเอง”


เจ้าเป็ดกับแกะน้อยสองตัวนี้ดูท่าจะเลือกหนังสือที่ตัวเองเป็นตัวเอกไปให้เจ้านายนะ♥


หาไม่เจอก็บ่ยั่น...อย่างพี่แพนด้ากับน้องหมีเค้าก็สามารถค้นหาจากคอมพิวเตอร์ได้


บ้างก็อ่านนิทานที่ตัวเองชอบให้เพื่อนฟัง (พี่จระเข้ดูพร้อมผจญภัยมากสะพายเป้ด้วย)
.....บ้างก็จับคู่จับกลุ่มอ่านหนังสือด้วยกัน.....


เอาล่ะ! ได้เวลาตัดสินใจเลือกหนังสือที่จะยืมกันคนละเล่มแล้วนะ


เลือกได้แล้วก็ยืมหนังสือกันเลย!


ฮ้าวววว....เริ่มง่วงนอนขึ้นมาซะแล้วสิ


ปิดไฟนอนรอเจ้านายตัวน้อยของพวกเรามารับกลับบ้านกันดีกว่า…



และแล้วในวันที่เจ้าของตัวน้อยมารับตุ๊กตาคืนก็จะได้เจอหนังสือที่ตุ๊กตาของตัวเองเลือกมาให้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ก็ยังมอบรูปถ่ายภาพตุ๊กตาที่ตั้งใจเลือกหนังสืออย่างเต็มที่ให้อีกด้วย เด็กๆ ก็จะอยากยืมหนังสือที่ตุ๊กตาของตัวเองแนะนำนั้นกลับบ้านไปอ่านกับคู่หูตัวปุกปุย *^^*

AME.dama ตอนที่อ่านเจอโครงการนี้คิดเลยค่ะว่าน่าทำมาก! เพราะเด็กบางคนถ้าโดนผู้ปกครองบอกให้ทำนู่นทำนี่บางทีเค้าอาจจะเกิดต่อต้านไม่อยากทำขึ้นมาก็ได้ แต่หากเป็นวิธีบอกผ่านตุ๊กตาน่ารักที่เป็นเหมือนเพื่อนล่ะก็คงจะทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากอ่านหนังสือขึ้นมาได้อย่างเพลิดเพลินแน่เลยค่ะ 

ตอนเด็กๆ AME.dama เคยแอบคิดด้วยว่าถ้าไม่มีใครอยู่ล่ะก็ ตุ๊กตาอาจจะออกมาเดินเล่น พูดคุยกันก็ได้ (ผลจากการอ่านนิยายมากเกินไป ฮ่าๆ) อาจฟังดูเพ้อเจ้อแต่เราคิดว่าการมีจินตนาการเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันอาจต่อยอดกลายเป็นรูปธรรมขึ้นมาในสักวันหนึ่งก็เป็นได้ ดังนั้นโดยส่วนตัวแล้วจึงชอบการสนับสนุนให้คนไทยรักการอ่าน อ่านอะไรก็ดีทั้งนั้น ที่ผ่านมาก็เคยทำงานที่เกี่ยวกับด้านนี้อย่างเล่านิทานในสวน เพ้นท์หน้าเด็กให้เป็นตัวละคร แสดงละครจากนิทาน 

อ้างอิง : http://www.marumura.com 

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

9 สิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้



****ยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท  ฐานข้อมูล ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆ มีทั้งคุณภาพ และด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน การศึกษาวิจัย และการดำเนินธุรกิจ แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ดังนั้น บรรณารักษ์ (Librarian)และนักสารสนเทศ (Information Specialist) จึงเป็นวิชาชีพ หรือ อาชีพ ที่ทำหน้าที่ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้และการให้บริการ
*****บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ นอกจากมีความรู้ในตำราวิชาชีพแล้ว ยังมีสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการมุ่งเน้นให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดดังต่อไปนี้
*****1. Pay attention (เอาใจใส่) บรรณารักษ์ควรมีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถามของผู้มาใช้บริการ
*****2. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง) บรรณารักษ์ต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
*****3. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
*****4. Work and Play (ทำงานกับเล่น)
*****บรรณารักษ์ต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยหรือผู้ใช้บริการรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจมีการจัดกิจกรรมภายในห้องสมุด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีร่วมกัน
*****5. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
*****บรรณารักษ์นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว ต้องจัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
*****6. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
*****บรรณารักษ์ต้องไม่อ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย) เช่น การใช้ Internet ในการสืบค้นข้อมูล การใช้โปรแกรมห้องสมุด โปรแกรม Microsoft Office ฯลฯ
*****7. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
*****อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
*****8. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)
*****ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช่รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ เช่น มุมมองของบรรณารักษ์ต้องพร้อมให้บริการข้อมูล หรือสารสนเทศต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ อุดมการณ์บรรณารักษ์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้มาใช้บริการได้รับข้อมูลตรงตามความต้องการ  จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์
*****

9. Service Mind (มีหัวใจให้บริการ)
*****การมีหัวใจให้บริการ เป็นสิ่งที่สำคัญ บรรณารักษ์ ต้องมีความกระตือรือร้นต่อการให้บริการ รวมทั้งการยิ้มแย้มแจ่มใส การให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตที่ดี
*****บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ หากนำสิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้ทั้ง 9ข้อมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน จะส่งผลให้เป็นบรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ ที่ดี มีคุณภาพ

อ้างอิง : http://kmlite.wordpress.com/2010/03/19/v3i2-09/

QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library
ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet
ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
- ตัวอักษร
– ตัวเลข
QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น
“1234567890123456789012345678901234567890″
Barcode
12345678901234567890_mv0nis
QR code
12345678901234567890_mv0njg
เป็นยังไงกันบ้าง ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า
เอาหล่ะ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร
- ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
- จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
- แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
- login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
- ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
- Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
- โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้อที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว
e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

pbookshelf


อ้างอิง : http://www.libraryhub.in.th/2013/10/21/qr-code-in-mobile-technology-for-library

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด

        บทความใน Lisnews ที่นำมาแปลและถ่ายทอดวันนี้
อาจเป็นเพียงแค่ความคิดของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเพียง 1 คน
ความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา มันโดนใจและทำให้ยอมรับได้ว่าจริง
         เรื่องของการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดและการทำเว็บไซต์ห้องสมุดดีๆ
มีหลายคนชอบถามว่า “ต้องเป็นแบบไหน” “ต้องมีอะไร” “ต้องทำอะไรได้บ้าง”
จึงตัดสินใจนำแนวคิดของผู้มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มาแปล/เรียบเรียงให้อ่าน
design library website

            ก่อนอื่นต้องแนะนำผู้ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดท่านนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักก่อน

นั่นคือ คุณ Laura Solomon ตำแหน่งปัจจุบันคือ Library Services Manager ของ เครือข่ายห้องสมุดประชาชนรัฐโอไฮโอ
22952_569610961_4266_n

คุณ Laura Solomon ได้เขียนบทความ “3 truths about your library’s website” เป็นการถ่ายทอดแนวคิดจากประสบการณ์ของเธอเอง
15 ปีที่ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้หลายๆ แห่ง เธอพบว่า
1) เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเป็นตัวตนสูง
การออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันทั้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักออกแบบเว็บไซต์ และผู้บริหารห้องสมุด มุมมองทุกคนต้องไปในทิศทางเดียวกันก่อนจะเริ่มการออกแบบ
บางครั้งการไปดูเว็บไซต์อื่นๆ แล้วชอบ ก็ไม่ได้หมายความว่า เว็บไซต์ห้องสมุดจะต้องออกแบบมาตามนั้นแล้วจะทำให้คนอื่นชอบด้วยเหมือนเรา ต้องบอกตรงๆ ครับ ว่า “ไม่เหมือนกัน”
2) ไม่มีใครใช้ฟังค์ชั่นต่างๆ มากมาย (นอกจากบรรณารักษ์)
ตอนออกแบบทุกคนพยายามยัดฟีเจอร์หรือฟังค์ชั่นต่างๆ มากมายลงในเว็บไซต์ห้องสมุด เช่น Pathfinder / Subject Guide / รายการหนังสือ / จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ฯลฯ
ซึ่งออกแบบไว้เยอะมาก แต่ความเป็นจริงแล้วจากการดูตัวชี้วัดการเข้าใช้ห้องสมุด จาก เครื่องมือต่างๆ เช่น Google analytics… ผู้ใช้บริการใช้เพียงแค่
– ต้องการเข้าถึงบัญชีของพวกเขาเอง (ทำรายการ ดูประวัติ….)
– ค้นหาหนังสือและสื่อ
– ดูเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของห้องสมุด
– ข้อมูลกิจกรรม หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่ห้องสมุดจัด
บางครั้งความคาดหวังของคนที่ทำงาน กับ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการมันก็แตกต่างกันอยู่ เราอาจมองถึงเรื่องต้องการบริการให้ดีที่สุด แต่ผู้ใช้บริการต้องการเพียงแค่ใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น การลงทุนอาจไม่คุ้มค่าเหมือนที่คิด
3) สุดท้ายคุณก็จะเกลียดมันในที่สุด
แนวโน้มการออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วันนี้ชอบ พรุ่งนี้อาจไม่ชอบ คิดง่ายๆ ครับ ในอดีตการออกแบบเว็บไซต์แค่เรื่องภาพ background ก็เป็นประเด็นแล้ว พอเปลี่ยนเป็นยุค Java ก็อีกแบบหนึ่ง มายุค Flash ก็มีเรื่อง ตอนนี้ไหนจะ Responsive อนาคตยังไม่รู้ครับว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป คุณก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามด้วย เว็บไซต์ห้องสมุดออกแบบวันนี้ใช่ว่าจะต้องใช้มันตลอดชีวิต สักวันมันต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คงมองเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่ายขึ้นนะ
สรุปง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเฉพาะทาง ออกแบบเท่าที่จำเป็น และต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เท่านี้แหละ

อ้างอิง : http://www.meanlaura.com/archives/5833