วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด

        บทความใน Lisnews ที่นำมาแปลและถ่ายทอดวันนี้
อาจเป็นเพียงแค่ความคิดของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเพียง 1 คน
ความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา มันโดนใจและทำให้ยอมรับได้ว่าจริง
         เรื่องของการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดและการทำเว็บไซต์ห้องสมุดดีๆ
มีหลายคนชอบถามว่า “ต้องเป็นแบบไหน” “ต้องมีอะไร” “ต้องทำอะไรได้บ้าง”
จึงตัดสินใจนำแนวคิดของผู้มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มาแปล/เรียบเรียงให้อ่าน
design library website

            ก่อนอื่นต้องแนะนำผู้ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดท่านนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักก่อน

นั่นคือ คุณ Laura Solomon ตำแหน่งปัจจุบันคือ Library Services Manager ของ เครือข่ายห้องสมุดประชาชนรัฐโอไฮโอ
22952_569610961_4266_n

คุณ Laura Solomon ได้เขียนบทความ “3 truths about your library’s website” เป็นการถ่ายทอดแนวคิดจากประสบการณ์ของเธอเอง
15 ปีที่ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้หลายๆ แห่ง เธอพบว่า
1) เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเป็นตัวตนสูง
การออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันทั้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักออกแบบเว็บไซต์ และผู้บริหารห้องสมุด มุมมองทุกคนต้องไปในทิศทางเดียวกันก่อนจะเริ่มการออกแบบ
บางครั้งการไปดูเว็บไซต์อื่นๆ แล้วชอบ ก็ไม่ได้หมายความว่า เว็บไซต์ห้องสมุดจะต้องออกแบบมาตามนั้นแล้วจะทำให้คนอื่นชอบด้วยเหมือนเรา ต้องบอกตรงๆ ครับ ว่า “ไม่เหมือนกัน”
2) ไม่มีใครใช้ฟังค์ชั่นต่างๆ มากมาย (นอกจากบรรณารักษ์)
ตอนออกแบบทุกคนพยายามยัดฟีเจอร์หรือฟังค์ชั่นต่างๆ มากมายลงในเว็บไซต์ห้องสมุด เช่น Pathfinder / Subject Guide / รายการหนังสือ / จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ฯลฯ
ซึ่งออกแบบไว้เยอะมาก แต่ความเป็นจริงแล้วจากการดูตัวชี้วัดการเข้าใช้ห้องสมุด จาก เครื่องมือต่างๆ เช่น Google analytics… ผู้ใช้บริการใช้เพียงแค่
– ต้องการเข้าถึงบัญชีของพวกเขาเอง (ทำรายการ ดูประวัติ….)
– ค้นหาหนังสือและสื่อ
– ดูเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของห้องสมุด
– ข้อมูลกิจกรรม หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่ห้องสมุดจัด
บางครั้งความคาดหวังของคนที่ทำงาน กับ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการมันก็แตกต่างกันอยู่ เราอาจมองถึงเรื่องต้องการบริการให้ดีที่สุด แต่ผู้ใช้บริการต้องการเพียงแค่ใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น การลงทุนอาจไม่คุ้มค่าเหมือนที่คิด
3) สุดท้ายคุณก็จะเกลียดมันในที่สุด
แนวโน้มการออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วันนี้ชอบ พรุ่งนี้อาจไม่ชอบ คิดง่ายๆ ครับ ในอดีตการออกแบบเว็บไซต์แค่เรื่องภาพ background ก็เป็นประเด็นแล้ว พอเปลี่ยนเป็นยุค Java ก็อีกแบบหนึ่ง มายุค Flash ก็มีเรื่อง ตอนนี้ไหนจะ Responsive อนาคตยังไม่รู้ครับว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป คุณก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามด้วย เว็บไซต์ห้องสมุดออกแบบวันนี้ใช่ว่าจะต้องใช้มันตลอดชีวิต สักวันมันต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คงมองเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่ายขึ้นนะ
สรุปง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเฉพาะทาง ออกแบบเท่าที่จำเป็น และต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เท่านี้แหละ

อ้างอิง : http://www.meanlaura.com/archives/5833

ไม่จบบรรณารักษ์มา แล้วอยากทำงานในห้องสมุด ไม่ยาก!!!

เป็นบรรณารักษ์ที่ดี เป็นง่าย มีวิธี ลองอ่านเรื่องนี้ และนำไปทำตาม
วันนี้จั่วหัวแปลกๆ หน่อยนะ
แต่อ่านแล้วรู้สึกถูกใจอย่างบอกไม่ถูก
เรื่องที่นำมาเขียนวันนี้มาจาก http://www.wikihow.com/
ในหัวข้อ How to Be a Good Librarian
http://www.wikihow.com/
เว็บไซต์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเรียนรู้วิธีในการทำงานในสายต่างๆ
(เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนจบมาใหม่ๆ แล้วยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน)
เอาหล่ะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีไม่ได้หมายความว่า
“มันมาจากคุณจะเรียนแล้วได้เกรด A มาทั้งหมด” 
“คุณจะได้เกียรตินิยมในสาขานี้มาครอบครอง”
good librarian
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีต้อง :-
1. หาความรู้อยู่ตลอดเวลา
2. อ่าน อ่าน และต้องอ่าน
3. เรียนรู้จากความผิดพลาด
4. เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานและคนที่เกี่ยวข้อง
5. รู้จักผูกมิตร และมีมนุษยสัมพันธ์
เป็นไงบ้าง ต้อง…แบบสั้นๆ
เพียงแค่นี้ก็ทำให้คุณสามารถประกอบอาชีพนี้ได้แล้ว
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ ลองคิดและนำไปปรับใช้กันดูนะ

อ้างอิง : http://www.libraryhub.in.th/2014/05/18/good-librarian-must-do/

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด รับบรรณารักษ์ ด่วน!!

                 นายห้องสมุดช่วยหางานวันนี้ขอนำเสนองานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยอีกแล้ว วันนี้ถึงคิวมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติครับ นั่นคือมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นั่นเอง
siu_librarian_job
รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
งานวันนี้คงต้องการบรรณารักษ์ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษระดับดีถึงดีมาก เพราะเป็นมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาตินะ
คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้ คือ
- จบปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารดีมาก
คุณสมบัติแบบสั้นๆ ง่ายๆ แบบนี้แหละครับ หน้าที่ของตำแหน่งนี้คือ
- งานจัดหา
- งานวิเคราะห์
- ส่งเสริมการอ่าน
- สร้างและดูแลฐานข้อมูล
แบบว่าหน้าที่ผมว่าเพื่อนๆ น่าจะไหวนะครับ แต่สิ่งที่ต้องการมากๆ คือ ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เท่านั้นแหละครับที่คงต้องเพิ่มเติมความรู้กัน
เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ติดต่อได้ที่ hrd@stamford.edu 
ส่งจดหมาย CV ประวัติย่อ และภาพถ่ายปัจจุบัน ไปที่เมล์ได้เลย
หรือจะโทรไปสอบถามที่ 027694000 ต่อ 1133 

อ้างอิง : http://www.libraryhub.in.th/category/libjob

มสด.ชวนเรียนหลักสูตรใหม่ บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์

                ผศ.ดร.ปริศนา มัชฌิมา ประธานหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ฯ ถูกบูรณาการขึ้นใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ซึ่งบรรณารักษ์ยุคใหม่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องสามารถจัดการห้องสมุดและสารสนเทศได้ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เป็นผู้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง หรือสามารถเพิ่มพูนความรู้โดยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
                มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เริ่มเปิดสอนหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในปี พ.ศ.2523 และได้มีการพัฒนาเป็นแขนงการจัดการสารสนเทศ ในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อ พ.ศ.2548 และมีการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2556 หากนักศึกษาเป็นคนที่ชื่นชอบการสืบค้น จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และสนใจในงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ การเรียนในหลักสูตรดังกล่าว ช่วยฝึกทักษะให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีทักษะทางด้านการจัดการมากขึ้น ทั้งนี้ยังฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการประเมินคุณค่า และความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วย อาชีพและโอกาสงานในอนาคตของผู้ที่เรียนสาขานี้ นอกจากเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศตามสถาบันการศึกษาและหน่วยงานเอกชนต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในด้านไอที ด้านธุรกิจ ด้านการเงิน หรือการวิเคราะห์ข้อมูลได้เช่นกัน ซึ่งในขณะนี้ มสด.ยังเปิดรับสมัครรอบสอบคัดเลือก (ทดแทนผู้สละสิทธิ์)




อ้างอิง:http://www.ryt9.com/s/bmnd/1864046

ไทยติดเน็ตงอมแงมกว่า 7 ชม.ต่อวัน

       


              ETDA เผยพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี 2557 ของคนไทย ติดเน็ตงอมแงมใช้กันวันละกว่า 7 ชั่วโมง เน้นใช้คุยออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียเกือบ 80% แฉเช็ค แชร์ โชว์ส่งผลเสี่ยงต่อความปลอดภัยสูง แถมไม่ยอมติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสกว่าครึ่ง เพศที่สามมาแรงใช้เน็ตกระจาย
           นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 พร้อมกล่าวชื่นชมสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ที่ให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกระจกสะท้อนพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตจากภาคประชาชนทุกกลุ่ม อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันผ่านโครงการ Smart Thailand พร้อมขอบคุณคนไทยทั้งประเทศที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีต่อการสำรวจในครั้งนี้
             นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กล่าวว่า ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 ที่จัดทำโดย ETDA ล่าสุดพบว่า อินเตอร์เน็ตได้เพิ่มบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยค่าเฉลี่ยของการใช้อินเตอร์เน็ตต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานโดยเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรือคนใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังพบว่า "กลุ่มเพศที่สาม" มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานอินเตอร์เน็ตสูง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
             ผู้คนมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตกันตลอดเวลา โดย ในแต่ละช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันไป โดยสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูงเกือบทั้งวัน เฉลี่ยสูงถึง 6.6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนการใช้งาน "สมาร์ททีวี" ในยุคทีวีดิจิตอลระยะเริ่มต้น พบว่า 8.4% ของผู้ตอบมีการใช้อุปกรณ์นี้ และกลุ่มผู้ใช้งานมีการใช้งานเฉลี่ย 3.4 ชั่วโมงต่อวัน
              ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 78.2% อันดับสอง ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 57.6% และอันดับสาม ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 56.5% ในขณะที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตในกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล อันดับสอง ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอันดับสาม ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
             ข้อน่าสังเกตจากการสำรวจครั้งนี้คือ กลุ่มเพศที่สาม เป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในหลายกิจกรรม ได้แก่ การใช้งานสังคมเครือข่ายออนไลน์ 85.6%, การอ่านติดตามข่าวสารและหนังสืออิเล็กทรอกนิกส์ 64.7% การซื้อขายสินค้าและบริการ 39.1% ในขณะที่กลุ่มเพศหญิง เล่นเกมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ 52.6%
              นอกจากนั้นในการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปีนี้ของ ETDA ยังมีการสำรวจข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม คือ "พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่สุ่มเสี่ยง" และ "พฤติกรรมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สุ่มเสี่ยง" อีกด้วย ด้วยกระแสสังคมออนไลน์ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงจากการพูดคุยกันมาเป็นการเช็ค แชร์ และโชว์ โดย "เช็ค" คือการเช็คอินผ่าน Facebook เพื่อบอกให้คนในกลุ่มสนทนาออนไลน์รู้ว่าตอนนี้ตนทำอะไรอยู่ที่ไหน ส่วน "แชร์" คือการโพสต์หรือแชร์ภาพที่เป็นส่วนตัวในสถานะสาธารณะ เพื่อให้มีคนติดตามหรือเพื่อดึงดูดความสนใจจากโลกสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะตอนนี้ที่วัยรุ่นไทยชอบถ่ายรูปตัวเอง หรือที่ฮิตติดปากกันในขณะนี้ว่า เซลฟี่ (Selfie) ส่วน "โชว์" คือการเซตสถานภาพของตนเองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นสาธารณะ เพื่อที่ว่าใครที่สนใจจะเข้ามาเป็นเพื่อนกับตน ก็สามารถเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ทุกคน
              พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนสุ่มเสี่ยงต่อการถูกจับตามองโดยมิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดี ที่อาจจะติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมของผู้ใช้งานจากการเช็ค แชร์ และโชว์ เพื่อหวังผลในทรัพย์สินเงินทองหรือชีวิต จากผลการสำรวจพบว่า กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น เป็น 3 กิจกรรมสุดฮิตในตอนนี้ โดยเฉพาะเพศที่สามจะมีสัดส่วนการทำกิจกรรมดังกล่าวสูงกว่าเพศชายและหญิง ในขณะที่คนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จะมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของการแชร์ภาพ/ข้อความที่อาจจะไม่เหมาะสม โดยไม่ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลและแหล่งที่มาก่อน
              ส่วนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จากผลการสำรวจพบว่า มีคนซื้อของผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตพีซี เพียง 38.8% และมีคนทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เพียง 29.8% เท่านั้น
พฤติกรรมที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงคือ คนซื้อของแพงชอบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ส่วนคนซื้อของถูกชอบโอนเงินผ่านธนาคารมากกว่า ในขณะที่คนชอบโอนเงินมูลค่ามากกว่า 50,000 บาท ทำธุรกรรมผ่านมือถือ โดยเข้าผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคารมากกว่าการเข้าแอพพลิเคชั่น พฤติกรรมเช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้บอกเลขที่บัตรเครดิตหรือเลขที่บัญชีธนาคารผ่านเว็บไซต์ที่ทำเลียนแบบ หรือที่เรียกว่า Phishing
ส่วนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น การละเลยไม่ติดตั้งโปรแกรม Anti-virus มีคนตอบว่าไม่ทำ สูงถึง 51.1% ส่วนคนที่เลิกใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ไม่ล้างข้อมูลออกจากเครื่อง มีผู้ตอบ 37.1% และละเลยไม่กำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานเครื่องมีเพียง 25% เท่านั้น





อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/bmnd/1966745

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Blog คืออะไร


บล็อก (BLOG)  คืออะไร


            บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
           ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
           บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
              บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย



อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/manual/2006/12/22/entry-4